
อีก1โรคร้ายจากยุงลายที่ควรรู้จัก
รู้ก่อนป้องกันก่อน #ชิคุนกุนยา
“ชิคุนกุนยา..ชื่อน่ารัก..อาการหนัก..แต่ไม่ถึงตาย”
? เข้าสู่หน้าฝนเต็มตัว ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่า “ยุงลาย” คือสัตว์ที่มาคู่กับฝน และเป็นพาหะนำโรคร้ายต่างๆมาสู่คน ทั้งไข้เลือดออก ไข้มาลาเรีย ไข้ซิการ์ และที่มาแรงตอนนี้ หนีไม่พ้น #ไข้ชิคุนกุนยา
? พาหะนำโรค คือ ยุงลายสวน ยุงลายบ้าน (เหมือนไข้เลือดออก)
♥️ ข้อแตกต่างจากไข้เลือดออก
- ด้วยเกิดจาก พาหะเดียวกัน อาการแสดงนำจึงคล้ายกันมาก (แนะนำเจาะเลือดตรวจทุกครั้งหากสงสัย)
- แต่ชิคุนกุนยา มีความรุนแรงน้อยกว่าไข้เลือดออกมากกกกกกก ค่ะ เนื่องจากเชื้อของชิคุนกุนยา ไม่ทำให้พลาสมารั่วออกนอกเส้นเลือด
- พบอาการผื่นแดงตามร่างกายพร้อมไข้ และภาวะปวดตามข้อได้มากกว่าไข้เลือดออก
? Key Word : ทรมานแต่ไม่อันตราย….โอกาสตายน้อยมาก อยู่ห่างไข้เลือดออกเยอะ
((เพราะมีอาการคล้ายไข้เลือดออก แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก)))
? แต่ที่สำคัญอาการนำไม่ต่างกันหากสงสัยให้มาพบแพทย์ค่ะ แนะนำให้เจาะเลือดไว้เพื่อความแน่นอน
โดยอาการแสดงหลักๆ ของโรคชิคุนกุนยาให้สังเกตดังนี้

อาการไข้สูงเฉียบพลัน อาจมีปวดเมื่อยๆนำมาก่อน 2-3 วัน

ทรมานมาก แต่ไม่ได้รุนแรงถึงแก่ชีวิต อาการแสดงทั่วไปๆ มีอ่อนเพลีย อ่อนแรง เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยเนื้อตัว
บางคนมีต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย

ผื่นแดงตามร่างกายพร้อมไข้ และที่สำคัญปวดข้อมากๆๆๆๆ ถ้าซักประวัติดีๆ คือ ปวดเข่าจนลุกไม่ขึ้น ปวดนิ้วมือจนขยับไม่ได้ 1-2 วันหลังไข้จะมีผื่นขึ้นพรึบทั้งตัวผื่นคล้ายพวกโรคหัด ผื่นจะอยู่พร้อมไข้ และหายไปในเวลาไม่นาน
((ต่างจากไข้เลือดออกที่ผื่นมักไม่ขึ้นตอนแรกแต่จะมาตอนหาย ))

⚡️การรักษา : หายเองได้ ไม่มียา ไม่มีวัคซีน รักษาตามอาการ
โรคนี้มักหายเองและยังไม่มียารักษาเฉพาะโรค การรักษาที่ให้ผลดีที่สุดในตอนนี้คือ การรักษาตามอาการ เช่น การใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) ในการรักษาอาการไข้ แก้ปวด ในระยะแรก การป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดในช่วงที่มีไข้ เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อไปสู่คนอื่น

เด็กและผู้สูงอายุ ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เป็นกลุ่มที่ภูมิคุ้มกันต่ำ
และหากเป็นจะแสดงอาการรุนแรงมากกว่าวัยอื่นๆ

ขอบคุณที่มา : คู่มือรู้ทันโรคและภัยสุขภาพสำหรับประชาชน โดยสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
ภาพ : สภากาชาดไทย, หมอแล๊บแพนดา